กู้เงินที่ไหนดี? หลักทรัพย์ค้ำประกันก็ไม่มี!

0 Comments

 

สำหรับมนุษย์เงินเดือน ๆ ที่เงินขาดมือ จะเข้าโรงรับจำนำแต่ก็ไม่มีของมีค่าหรือหลักทรัพย์ค้ำประกันอะไรเลย ไม่รู้จะไปกู้เงินที่ไหนดี ญาติก็เมิน เพื่อนก็ไม่มีให้ยืม ใจเย็น ๆ ปัญหานี้มีทางกู้ แต่จะกู้เงินอย่างไรนั้นต้องตามมาหาคำตอบกัน

วันนี้เราจะพาทุกคนมารู้จักการกู้เงินผ่านสินเชื่อที่ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน (unsecured loan) สินเชื่อประเภทนี้ เป็นสินเชื่อที่ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ประกอบการพิจารณาในการอนุมัติกู้เงิน แต่สถาบันการเงินจะพิจารณาจากความน่าเชื่อถือ หรือ ความสามารถในการชำระหนี้ของผู้กู้เงินเป็นหลัก โดยตรวจสอบประวัติการเงิน หรือ คะแนนเครดิต(Credit Score) แทน ถ้าหากผู้กู้เงินไม่สามารถชำระหนี้ได้ สถาบันการเงินจะใช้วิธีผ่อนปรน หรือ ปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่สถาบันการเงินต้องแบกรับไว้เอง เรียกการกู้เงินชนิดนี้ว่า “สินเชื่อส่วนบุคคล” หรือสินเชื่อ SME ประเภทไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูง เป็นเหมือนสินเชื่อส่วนบุคคลซึ่งแยกย่อยลงไปในผลิตภัณฑ์อีกทีหนึ่ง ได้แก่

  • สินเชื่อส่วนบุคคล การกู้เงินประเภทนี้ไม่ได้กู้เงินในระบบสินเชื่อ SME โดยตรง แต่เป็นสินเชื่อที่ผู้กู้เงินสามารถขอจากสถาบันการเงินได้ ส่วนมากจะกู้เงินได้สูงสุด 5 เท่าของรายได้ เป็นสินเชื่อที่อนุมัติง่าย เพียงแค่เป็นพนักงานหรือผู้ประกอบการที่มีรายได้ประจำและมีหลักฐานยืนยันชัดเจนก็มีสิทธิ์ได้รับการอนุมัติให้กู้เงินกับสินเชื่อประเภทนี้แล้ว แต่ข้อเสียคืออัตราดอกเบี้ยสูงมาก ขั้นต่ำอยู่ที่ 5 และอาจสูงถึง 28% ต่อปี การกู้เงินประเภทนี้นอกจากจะยื่นกู้จากสถาบันการเงินแล้ว ยังมีรูปแบบอื่น ๆ ได้แก่
  • บัตรกดเงินสด เป็นบัตรที่ใช้กดเงินสดจากตู้เอทีเอ็ม หรือจะใช้ซื้อสินค้าที่ต้องชำระผ่อนโดยไม่เสียค่าธรรมเนียม วงเงินที่ได้จะเฉลี่ยตามรายได้ของผู้ขอกู้เงินในแต่ละเดือน เงื่อนไขการสมัครบัตรค่อนข้างง่าย เพราะไม่ต้องมีหลักทรัพย์หรือเงินฝากในบัญชี เพียงแค่ผู้กู้เงินมีรายได้ประจำขั้นต่ำต่อเดือนตั้งแต่ 8,000 – 15,000 บาท ทำงานมาไม่ต่ำกว่า 4 เดือน ก็มีโอกาสได้รับการอนุมัติสินเชื่อกู้เงินจากบัตรกดเงินสดแล้ว ข้อเสียคือผู้กู้เงินต้องรับอัตราดอกเบี้ยที่สูงถึง 28% ต่อปี
  • บัตรเครดิต คือบัตรที่สามารถใช้แทนเงินสดในการชำระสินค้าและบริการ หรือจะถอนเงินสดจากตู้เอทีเอ็มมาใช้ก็ได้ แต่ผู้กู้เงินต้องเสียค่าธรรมเนียม 3% ของจำนวนเงินที่กด และเสียภาษีอีก 7% ตามเงื่อนไขการสมัครบัตร คือต้องเป็นพนักงานที่ทำงานมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี มีรายได้ขั้นต่ำ 15,000 ต่อเดือนขึ้นไป และต้องมีประวัติการผ่อนชำระหนี้ที่ดีด้วย ส่วนอัตราดอกเบี้ยสูงสุดอยู่ที่ 18% ต่อปี

อย่างไรก็ดี ขอแนะนำให้กู้เงินผ่านสินเชื่อส่วนบุคคลโดยตรงกับสถาบันการเงิน เพราะจะได้อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าบัตรกดเงินสด หรือ บัตรเครดิต อีกทั้งยังผ่านชำระเป็นงวด ๆ ตามจำนวนเดือนที่ผู้กู้เงินต้องการได้อีกด้วย

ขอขอบคุณบทความดี ๆ จาก www.masii.com

 


Leave a Reply